วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานเวตาล เรื่อง 10

นิทานเวตาล 

เป็นฉบับพระนิพนธ์พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณมีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า  เวตาลปัญจวิงศติ  (Vetala Panchvim shati  แปลว่า  นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล  (ปัญจะ = ๕,  วิงศติ = ๒๐)  ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ  และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือชื่อ  กถาสริตสาคร (Katha - sarita - sagara)  

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 

นิราสนรินทร์คำโครง

นิราศนรินทร์คำโครง

คือนายนรินทรธิเบศร์ (มิใช่ชื่อตัว แต่เป็นบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ) มีนามเดิมว่า อิน ในตำรารุ่นเก่า มักเขียนเป็น นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อปีมะเส็ง (พ.ศ. 2352) นิราศเรื่องนี้ผู้แต่งไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ แต่เรียกกันโดยทั่ว
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม

 
 หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน  
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตามรูปภาพที่เกี่ยวข้อง

มงคลสูตรฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์

  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

มหาชาติหรือมหาเวสันดนชาดก

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
 มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บทอาขยาน

บทหลัก

                                 อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

                                              พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดหล้านภาลัย

ว่าพลางทางชมคณานก        โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี        เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน        เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา        เหมือนจากนางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง        เหมือนร้างท้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที        เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร        เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา        เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว        เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง        คะนึงนางพลางรีบโยธี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง